แนวข้อสอบ อบต

แจกฟรี  แนวข้อสอบ อบต.

http://www.ziddu.com/download/11706426/TestPorobo.pdf.html

ตัวอย่างแนวข้อสอบ อบต

คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1.อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
ก.2534*                       ข. 2535                        ค. 2536                        ง.2545
2.ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
ก.สำนักงานปลัดกระทรวง ,กรม
ข.สำนักงานรัฐมนตรี ,สำนักงานปลัดกระทรวง ,กรม*
ค.สำนักงานรัฐมนตรี ,สำนักงานปลัดกระทรวง ,กรม ,กอง
ง.กรม ,กอง ,ฝ่าย ,งาน
3.ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องใดมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะมอบอำนาจให้ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้ โดย……….

ก.ทำเป็นระเบียบ

ข.ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา*
ค.ทำเป็นประกาศและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีก่อน แล้วทำเป็นคำสั่ง
4.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองอธิบดี (ถ้ามี) เป็นผู้..

ก.ปฏิบัติราชการแทน                         ข.ทำการแทน

ค.รักษาการในตำแหน่ง                      ง.รักษาราชการแทน*
5.การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็นดังนี้
ก.จังหวัด ,อำเภอ*                               ข.จังหวัด ,อำเภอ ,กิ่งอำเภอ
ค.จังหวัด ,อำเภอ ,ตำบล ,หมู่บ้าน
ง.จังหวัด ,อำเภอ ,กิ่งอำเภอ ,ตำบล ,หมู่บ้าน
6.ข้อใดไม่ใช่ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ก.อำเภอ*                                          ข.กรุงเทพมหานคร

ค.เมืองพัทยา                                     ง.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

7.ข้อความใดต่อไปนี้ ผิด

ก.ให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด

ข.จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ค.การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
ง.ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมเป็นคณะกรมการจังหวัดด้วย*
8.ข้อความใดต่อไปนี้ ถูกต้องที่สุด
ก.ปลัดอำเภอทุกคนเท่าเทียมกับหัวหน้าส่วนราชการในฐานะผู้ช่วยเหลือ
นายอำเภอ
ข.ปลัดอำเภออาวุโสมีฐานะเทียบเท่าหัวหน้าส่วนราชการ*
ค.ปลัดอำเภอแต่ละคนมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน เพราะแบ่งเป็นฝ่ายเป็นงาน

ง.ปลัดอำเภออาวุโสเป็นหัวหน้าที่ทำการปกครองอำเภอ

9.ส่วนราชการใดต่อไปนี้ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ก.ทบวงซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
ข.จังหวัด
ค.อำเภอ*                                             ง.เทศบาลตำบล
10.เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็น……..
ก.ข้าราชการทหาร                              ข.ข้าราชการการเมือง
ค.ข้าราชการพลเรือนสามัญฯ *           ง.ข้าราชการกลาโหม
11.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ.มีจำนวน
ก. 10 คน ถึง 14 คน                            ข. 5 ถึง 7 คน*
ค. 12 ถึง 16 คน                                  ง. 13 ถึง 17 คน
12.เลขานุการ อ.ก.พ.จังหวัด คือ
ก.ใครก็ได้ที่ อ.ก.พ.นั้นตั้ง                 ข.ปลัดจังหวัด
ค.หัวหน้าสำนักงานจังหวัด*              ง.จ่าจังหวัด
13.ถ้าตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เป็นครั้งคราว และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควร……
ก.ปฏิบัติราชการแทน                        ข.ทำการแทน
ค.รักษาการในตำแหน่ง*                    ง.รักษาราชการแทน
14.สูตร E= (ผลงาน ทรัพยากรบริหารที่ใช้) + ความพึงพอใจ
ก. E หมายถึง พลังงาน                       ข. E หมายถึง ประสิทธิภาพ
ค. E หมายถึง ประสิทธิผล*                ง. E หมายถึง ความประหยัด
15.ในกระบวนการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB นั้น ตัว D หมายถึง
ก. Democracy                                   ข. Delegating
ค. Developing                                   ง. Directing*
16.ผู้นำที่ไม่พยายามจัดให้มีประเมินผลงาน เป็นผู้นำแบบ
ก.อัตนิยม*                                       ข.เสรีนิยม
ค.ประชาธิปไตย                               ง.อนุรักษ์นิยม
17.สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้องค์การมีลักษณะเคลื่อนไหว (Dynamic) คือ
ก.การจัดการ                                    ข.การติดต่อสื่อสาร
ค.การสั่งการ*                                   ง.การส่งข้อมูลย้อนกลับ
18.ตามปกติหน่วยงานฝ่ายอำนวยการ (Staff) กับฝ่ายปฏิบัติการ (Line) มักจะมีพฤติกรรม
ก.ร่วมมือประสานกันทำงาน            ข.ขัดแย้งโทษกันและกัน*
ค.ต่างคนต่างทำงาน                          ง.มุ่งปฏิบัติตามคำสั่ง
19.อะไรต่อไปนี้ ที่ไม่ใช่หลักของระบบคุณธรรม (Merit System)
ก.หลักความสามารถ                         ข.หลักความเสมอภาคในโอกาส
ค.หลักความมั่นคงในอาชีพ               ง.หลักความขยันซื่อสัตย์*
20.ผู้บริหารที่เชื่อในระบบการควบคุมและลงโทษเพื่อให้บุคคลทำงานนั้น เป็นหลักของทฤษฎีบริหารที่เรียบว่า
ก.ทฤษฎีพื้นฐานของการจูงใจ           ข.ทฤษฎี X*
ค.ทฤษฎี Y                                         ง.ทฤษฎีรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง
21.MBO คือการบริหารงานโดย
ก.ยึดตัวบุคคล                                    ข.ยึดวิธีการ
ค.ยึดวัตถุประสงค์ *                           ง.ยึดผลงาน
22.ปัจจัยในการบริหารตามหลัก 4M’S คือ
ก.คน ความรู้ วัตถุสิ่งของ การจัดการ      ข.คน เงิน ที่ดิน การประกอบการ
ค.แรงงาน ทุน ที่ดิน การประกอบการ     ง.คน เงิน วัตถุสิ่งของ การจัดการ*
23.ผู้รับสนองพระบรมราชการโองการโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540  คือ
ก.ประธานรัฐสภา*                            ข.ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ค.ประธานวุฒิสภา                             ง.ประธานองค์มนตรี
24.พรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดเป็นจำนวนอย่างที่สุด กี่เสียง
25.อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามประกาศของกระทรวงแรงงานฯ มีอัตราต่ำสุดและสูงสุดดังนี้
26.ถ้าค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลง จะทำให้
ก.ราคาสินค้าที่สั่งจากสหรัฐเข้ามาภายในไทยแพงขึ้น
ข.สินค้าไทยในต่างประเทศราคาถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าสหรัฐ
ค.สินค้าไทยในต่างประเทศราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าสหรัฐ*
ง.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินไทยเพราะคนละสกุลกัน
27.กรุงเทพมหานคร จะมีอายุครบ 300 ปี ในปี พ.ศ. ……….
ก. 2624                                             ข. 2625*
ค. 2626                                             ง. 2627
28.ถ้ามีหนังสือถึงประธานสภาจังหวัดใช้คำลงท้ายว่า
ก.ขอแสดงความนับถืออย่างสูง         ข.ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ค.ขอแสดงความนับถือ*                    ง.ด้วยความนับถืออย่างสูง
29.ถ้ามีหนังสือถึงพระราชาคณะ ใช้คำลงท้ายว่า
ก.นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง           ข.นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
ค.นมัสการด้วยความเคารพ               ง.ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง*
30.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 กำหนดให้ใครมีหน้าที่ในการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
ก.หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม               ข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี*
ค.ผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะจังหวัดนั้น       ง.นายอำเภอเฉพาะอำเภอนั้น
31.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำเมื่อดำเนินการแล้ว ให้เก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
ก. 1 ปี*                                                ข. 2 ปี
ค. 3 ปี                                                ง. 5 ปี
32.หนังสือประทับตรา ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
ก.ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป
ข.ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองลงชื่อเต็มกำกับตรา
ค.ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป*
ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
33.ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
ก.ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ            ข.ข้อบังคับเป็นหนังสือราชการ
ค.ถูกทั้งข้อ ก.และ ข้อ ข.*                  ง.แถลงการณ์ไม่ต้องใช้กระดาษครุฑ
34.คำว่า หนังสืออื่น ในระเบียบงานสารบรรณ หมายถึง
ก.ฟิล์มที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ*
ข.หนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และลงรับไว้แล้ว
ค.โฉนด                                             ง.ข้อ ข. และข้อ ค.
35.การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมต้องเป็น
ก.หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป      ข.หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป*
ค.หัวหน้าส่วนราชการระดับฝ่ายขึ้นไป       ง.หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป
36.หนังสือที่เกี่ยวกับการเงินที่มิใช่เอกสารสิทธิ หากเก็บไว้เพียง 5 ปีแล้ว เห็นว่าไม่จำเป็นประสงค์จะทำลาย ควรดำเนินการ……….
ก.ทำลายได้เลย                                   ข.ขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง
ค.ขอทำความตกลงกับสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ง.ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง*
37.ข้อใดถูกต้อง
ก.ทะเบียนตามระเบียบงานสารบรรณมีทะเบียนหนังสือรับ-ทะเบียนหนังสือส่ง-
ทะเบียนหนังสือเก็บ*

ข.ประกาศคือหนังสือสั่งการ

ค.การเก็บหนังสือเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ให้ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือไว้ที่มุม
ด้านซ้ายของแผ่นกระดาษแผ่นแรก
ง.หนังสือด่วนมาก หมายถึง ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ
38.กฎหมายต่างกับศีลธรรม เนื่องจาก
ก.กฎหมายและศีลธรรมเป็นเรื่องที่ต้องแยกพิจารณาจากกัน
ข.กฎหมายและศีลธรรมต่างก็เป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์
ค.กฎหมายมีสภาพบังคับ (Sanction) ที่รุนแรงกว่าศีลธรรม*
ง.ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
39.จารีตประเพณีที่ใช้ประกอบในการพิจารณาของกฎหมายนั้น
ก.ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข.เป็นที่ยอมรับของสังคมและปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน
ค.ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ทันสมัยทันเหตุการณ์
ง. ข้อ ก. และ ข. รวมกัน*
40.ผู้มีอำนาจเสนอออกพระราชกำหนด คือ
ก.รัฐมนตรีผู้รักษาการ*                     ข.เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ค.เลขาธิการรัฐสภา                            ง.ประธานรัฐสภา
41.ถ้า ก.ไปขโมยทรัพย์ของเด็กอายุ 6 ขวบ การกระทำของ ก.

ก.ไม่มีความผิดเพราะเป็นโทษที่กระทำต่อเด็กที่อายุน้อยเกินไป

ข.มีความผิดฐานลักทรัพย์ตามกฎหมายกำหนด*
ค. ก.มีความผิด แต่อาจได้รับยกเว้นโทษ เพราะเด็ก 6 ขวบ ย่อมไม่เอาความ
ง.ไม่มีความผิด เพราะ ก.ไม่เจตนา
42.นาย ก.ขับรถเข้าไปจอดในสยามสแควร์ มีคนมาขอเงินค่าเฝ้ารถ 5 บาท นาย ก.ก็เอาเงินให้ไป เช่นนี้จะมีผลผูกพัน
ก.เป็นสัญญาเช่าที่จอดรถ                 ข.เป็นสัญญาฝากทรัพย์*
ค.เป็นสัญญาแลกเปลี่ยน                   ง.ไม่เป็นสัญญาอะไรทั้งสิ้น
43.จำนองต่างกับจำนำในสาระสำคัญอย่างไร
ก.จำนองต้องจดทะเบียน จำนำไม่ต้อง

ข.จำนองใช้กับสังหาริมทรัพย์ แต่จำนำใช้กับอสังหาริมทรัพย์

ค.จำนองใช้กับอสังหาริมทรัพย์ แต่จำนำใช้กับสังหาริมทรัพย์
ง. ข้อ ก. และ ค.*
44.ภูมิลำเนา หมายถึง
ก.สถานที่บุคคลอยู่มาเป็นเวลาช้านาน                    ข.สถานที่อยู่ของ พ่อ-แม่-ลูก
ค.ถิ่นที่บุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ*      ง.ถิ่นที่เกิด
45.ข้อใดเป็นหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลัง

ก.ไม่มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษแก่จำเลย*

ข.ไม่มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย
ค.ถูกทั้ง ก. และ ข.
ง.ไม่มีข้อใดถูก
46.ปัจจุบันนี้มีการกล่าวอ้างหรือวิพากษ์วิจารณ์กันเสมอว่า กฎหมายบางฉบับมีช่องว่าง คำว่า ช่องว่างแห่งกฎหมาย นั้น แท้จริงแล้วคือ
ก.กรณีที่กฎหมายก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่ง
ที่ไม่พึงปรารถนาในสังคม
ข.กรณีที่บัญญัติกฎหมายขัดกับรัฐธรรมนูญ อันทำให้กฎหมายนั้นเป็นโมฆะใช้
บังคับไม่ได้
ค.การที่ผู้ใช้กฎหมายพยายามใช้กฎหมายโดยไม่เป็นธรรม มีการให้อภิสิทธิ์กัน
ง.กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือกฎหมายจารีตประเพณี ที่จะนำไปใช้ปรับแก่ข้อเท็จจริงได้*
47.ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใช้บังคับได้เองในทันที แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
ก. พระราชกฤษฎีกา                          ข.พระบรมราชโองการ
ค.พระราชกำหนด*                           ง.พระราชบัญญัติในภาวะฉุกเฉิน
48.ข้อความเขียนที่สนามว่า ห้ามเดินลัดสนาม ดังนั้นการวิ่งลัดสนาม

ก.ไม่ผิด เพราะห้ามเดิน แต่ไม่ได้ห้ามวิ่ง

ข.ผิด เพราะวิ่งหรือเดินก็เหมือนกัน
ค.ไม่ผิด เพราะการวิ่งไม่ใช่การเดิน
ง.ผิด เพราะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์*
49.พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้เมื่อ
ก. พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ข.ได้ประกาศโดยเปิดเผยทางสื่อมวลชนแล้ว
ค.รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ง.ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว*
50.ผู้ใดบัญญัติกฎหมายไว้ ผู้นั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนั้นด้วย ตรงกับคำว่า
ก. Moral Consiousness                     ข. The Rule of Law*
ค. The Rule of Man                          ง. The Rule of Reason
51. Put  the  right man in the right Job คือหลัก
ก.การบรรจุบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ*    ข.การมอบอำนาจหน้าที่
ค.การพัฒนาตัวบุคคล                                 ง.การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์
52.การงบประมาณของประเทศไทย ในปัจจุบันเป็นแบบใด
ก.Line – item Budgeting                         ข.Performance Budgeting
ค.Function Classification Budgeting       ง.Programme Budgeting*
53.การฝึกฝนความรู้สึกไว (Sensitivity Training) มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้เข้าฝึกอบรม
ก.ช่วยสร้างภาวะผู้นำ                        ข.ช่วยให้สมองไว
ค.ช่วยให้รู้จักตนเองดีขึ้น*                 ง.เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ
54.ในเรื่องการฝึกอบรมแล้ว  ถ้าสมมติให้ X เป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงาน Y เป็นผลในการปฏิบัติงาน Z เป็นความต้องการในการฝึกอบรม (Training – needs) ข้อใดแสดงความหมายที่ถูกต้อง
ก.X = Y-Z                                         ข.Y = Z-X
ค.Z = X-Y*                                        ง.Z = Y-X
55.ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ละลายพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มได้ดีที่สุด
ก.การประชุมปรึกษาหารือ         ข.การเดินทางไกล พักค้างคืนและมีกิจกรรมร่วมกัน*
ค.การฟังบรรยายหลักวิชาพฤติกรรมศาสตร์                 ง.การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ร่วม
56.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะต้อง
ก.อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์                    ข.อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ค.อยู่ในตำแหน่งครบ 4 ปี นับจากวันได้รับเลือกตั้ง
ง.อยู่ในตำแหน่งครบ 5 ปี นับจากวันได้รับเลือกตั้งตามกฎหมายใหม่*
57.เมื่อกำนันอยู่ในหมู่บ้านใด หมู่บ้านนั้น
ก.เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้านอีก 1 คน

ข.ไม่ต้องมีผู้ใหญ่บ้าน

ค.ให้ผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านนั้นอีก
ง.ไม่ต้องเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นอีก เพราะกำนันทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านด้วย*
58.ผู้ที่จะเป็นสารวัตรกำนัน

ก.ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในพื้นที่

ข.ได้รับการเลือกตั้งจากสภาตำบล
ค.ได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอ
ง.ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัด*
59.องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ
ก.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด*
ค.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด
ง.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหัวหน้าส่วนจังหวัด
60.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ
ก. 5 ปี                                                ข. 4 ปี*
ค. 6 ปี                                                ง. 3 ปี
61.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่
ก.ฝ่ายนิติบัญญัติ*                              ข.ฝ่ายบริหาร
ค.ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร       ง.ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด
62.ตามกฎหมาย เทศบาลไทยแบ่งออกเป็น

ก.เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล*

ข.กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
ค.เทศบาลเมือง เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล
ง.กรุงเทพมหานคร เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล
63.เทศบาลตำบลมีสมาชิกสภา จำนวน
ก. 8 คน                                             ข. 12 คน*
ค. 18 คน                                           ง. 24 คน
64.เทศบาลนคร มีสมาชิกสภา จำนวน
ก. 18 คน                                           ข. 20 คน
ค. 24 คน*                                          ง. 30 คน
65.สมาชิกสภาเทศบาล อยู่ในตำแหน่งคราวละ
ก. 4 ปี*                                               ข. 5 ปี
ค. 6 ปี                                                 ง. จนเกษียณ
66.ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รูปแบบแรกที่สุดของไทย คือ
ก.กรุงเทพมหานคร                           ข.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค.เทศบาล                                         ง.สุขาภิบาล*
67.ข้อใดมิใช่การปกครองท้องที่
ก.หมู่บ้าน                                         ข.ตำบล
ค.กิ่งอำเภอ                                        ง.อำเภอ*
68.ที่ปรึกษาสภาตำบล คือใคร
ก.ปลัดอำเภอ*                                   ข.ครูประชาบาล
ค.นายอำเภอ                                      ง.พัฒนากร
69.หมู่บ้าน อพป. มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อ
ก.การพัฒนาเศรษฐกิจ                       ข.การพัฒนาชนบท
ค.ความมั่นคง*                                   ง.การพัฒนาการท่องเที่ยว
70.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 1 ระบุว่า
ก.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ข.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ค.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้*
ง.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย
71.สมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งคือ
ก.กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน
ข.กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบล*
ค.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

ง.กำนัน สารวัตรกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน

72.ข้อใดเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล
ก.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
ข.เป็นคนวิกลจริต
ค.เป็นคนจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ง.ถูกทุกข้อ*
73.ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบล ซึ่งได้รับเลือกตั้ง
ก.มีสัญชาติไทย
ข.อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านในตำบลนั้นเป็น
เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือน จนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
ง.ไม่มีข้อใดถูก*
74.องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็น
ก.นิติบุคคล                                       ข.นิติบุคคล และราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ค.นิติบุคคล และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น*
ง.นิติบุคคล และราชการบริหารส่วนท้องที่
75.การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ทำได้โดย
ก.ตราเป็นพระราชกำหนด                          ข.ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ค.ตราเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย*     ง.ตราเป็นคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
76.องค์การบริหารส่วนตำบล อาจจัดตั้งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นในรูปใด
ก.สุขาภิบาล                                       ข.เทศบาล*
ค.องค์การบริหารส่วนจังหวัด            ง.รูปแบบอื่นๆ เช่น เมืองพัทยา
77.ประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี                                                ข. 3 ปี
ค. 5 ปี                                                ง. ดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภา*
78.ประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ก.ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.ลาออกโดยแถลงต่อที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.ลาออกโดยแจ้งทางวาจาต่อนายอำเภอ
ง.ยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ*
79.เมื่อตำแหน่งประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระให้มีการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน
ก. 15 วัน*                                          ข. 30 วัน
ค. 45 วัน                                            ง. 60 วัน
80.การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กำหนดให้มีประชุมสามัญได้กี่สมัย
ก. 2 สมัย แต่ไม่เกิน 3 สมัย               ข. ไม่เกิน 3 สมัย
ค. 2 สมัย แต่ไม่เกิน 4 สมัย*             ง. ไม่เกิน 4 สมัย
81.การประชุมสามัญสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมัยแรก จะต้องประชุมภายในกี่วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. 30 วัน                                            ข. 15 วัน*
ค. 60 วัน                                            ง. 90 วัน
82.การขอขยายเวลา การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องดำเนินการตามข้อใด
ก.ขอมติจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ขออนุญาตจากประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ค.ขออนุญาตจากนายอำเภอ*

ง.ขออนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
83.การประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบล มีสมาชิกจำนวนเท่าใดจึงจะครบองค์ประชุม
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 2*                       ข. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
ค. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3                         ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
84.ผู้ใดสามารถทำคำร้องขอให้เปิดประชุมวิสามัญ
ก.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ต่ำกว่ากี่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด
ง.ถูกทุกข้อ*
85.คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนกี่คน
ก.ไม่เกิน 3 คน*                               ข. ไม่เกิน 7 คน
ค.ไม่เกิน 9 คน                                 ง.ไม่เกิน 11 คน
86.ผู้ใดเป็นคนแต่งตั้งคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด                       ข.ปลัดจังหวัด
ค.นายอำเภอ*                                   ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
87.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
ก. ครบตามวาระ                               ข.ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อนายอำเภอ
ค. ง.ถูกทุกข้อ*
88.กิจการใดที่องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำหรือไม่ทำก็ได้

ก.ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร*

ข.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ค.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ง.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

89.ถ้ากระทรวง ทบวงกรมหรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐจะดำเนินการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล จะต้องดำเนินการอย่างใด
ก.แจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบ*
ข.ต้องได้รับการอนุมัติจากองค์การบริหารส่วนตำบลก่อนเข้าดำเนินการ

ค.สามารถดำเนินการได้เลยถ้าไม่ตรงกับกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล

ง.ไม่สามารถดำเนินการได้เลย
90.องค์การบริหารส่วนตำบลออกข้อบัญญัติตำบล โดยสามารถกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด
ก.ไม่เกิน 100 บาท                             ข.ไม่เกิน 500 บาท
ค.ไม่เกิน 1000 บาท*                         ง.ไม่เกิน 2000 บาท
91.ใครเป็นผู้ลงชื่อในข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อประกาศใช้
ก.นายอำเภอ                                      ข.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล*    ง.เฉพาะข้อ ก  และข้อ ข. ถูก
92.องค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งการบริหารออกเป็นกี่ส่วน
ก.2 ส่วน คือ สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนต่างๆ*
ข.2 ส่วน คือ สำนักงานคณะผู้บริหาร และส่วนต่างๆ
ค.2 ส่วน คือ สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานคณะผู้บริหาร
ง.2 ส่วน คือ คณะผู้บริหาร และสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
93.รายได้จากการจัดเก็บภาษีหรืออากร ประเภทใดที่จัดเก็บในตำบลให้ส่งมอบเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ภาษีบำรุงท้องที่                             ข.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ค.ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์และประโยชน์อื่น อันเกิดจากการฆ่าสัตว์
ง.ถูกทุกข้อ*
94.รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลประเภทใดได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
ก.ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตและค่าปรับ

ข.เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้

ค.เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ง.รายได้ทุกประเภทได้รับการยกเว้นทั้งหมด*
95.ใครเป็นผู้เสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ข.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล*

ค.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งในสาม
ง.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
96.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. 15 วัน                                          ข. 30 วัน
ค. 45 วัน                                           ง. 60 วัน*
97.ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกไม่ทันปีใหม่จะดำเนินการอย่างไร

ก.ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก่อนนั้นไปพลางก่อน*

ข.ให้นายอำเภอออกข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีใช้ไปพลางก่อน
ค.ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลขยายเวลาการใช้งบประมาณปีก่อนหน้านั้นไปก่อน
ง.ให้คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลขออนุมัติสภาองค์การบริหารส่วนตำบลใช้งบประมาณปีก่อนหน้านั้นไปพลางก่อน
98.ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด                                         ข.นายอำเภอ*
ค.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล          ง.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
99.ใครเป็นผู้สั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด*              ข.ปลัดจังหวัด
ค.นายอำเภอ                             ง.หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น