แนวข้อสอบ ธกส 10ชุด

ตัวอย่างแนวข้อสอบ
แนวข้อสอบ ธกส

เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดี
ก. ปากีสถาน
ข. ฝรั่งเศส
ค. อินเดีย
ง. เปรู
2. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่สัมพันธ์กันในแง่ของประวัติศาสตร์การเมือง
ก. มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน
ข. พม่า อินเดีย ปากีสถาน
ค. อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย
ง. เวียตนาม กัมพูชา ลาว
3. แนวคิดเรื่อง โลกพระศรีอาริย มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดทางการปกครองในข้อใด
ก. สังคมนิยม
ข. ฟาสซิสต์
ค. UTOPIA
ง. รัฐสวัสดิการ
4. บทบาทของคนไทยในเวทีโลก บทบาทใดที่มีบทบาทน้อยที่สุด
ก. UNCTAD
ข. WTO
ค. UNHCR
ง. FAO

5. แนวคิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ของ ADOLF HITLER นั้นมีชื่อเรียกว่าอะไร
ก. HOLO LULU
ข. HOLOCAUST
ค. HOLO – JEWISH
ง. HOLOCAUSE
6. ข้อใดต่อไปนี้ ผิด เกี่ยวกับประเทศ พม่า
ก. ประเทศพม่า เข้าเป็นสมาชิกของ ASEAN เป็นลำดับที่ 6 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
ข. จนถึงปัจจุบัน พม่า มีการเปลี่ยนเมืองหลวงมาแล้ว อย่างน้อย 2 ครั้ง
ค. ประเทศพม่า มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นแผ่นเปลือกโลกยุคหินใหม่ ที่มีแนวเทือกเขาอารากันโยม่า เป็นแนวหลัก ทำให้ในตอนบนของประเทศพม่า ประสบปัญหาแผ่นดินไหวอยู่เป็นระยะ
ง. ประเทศพม่า มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และจำเป็นต่อเศรษฐกิจสูง แม้ว่าเศรษฐกิจของพม่ายังไม่พัฒนาเท่าที่ควรก็ตาม

7. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชกรณียกิจใด ที่เป็นการวางรากฐานสำคัญแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเวลาถัดมา
ก. การเลิกทาส
ข. การจัดตั้ง นครดุสิตธานี
ค. การจัดตั้งระบบการบริหารราชการแบบกระทรวง
ง. การจัดตั้ง นครมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ในระดับท้องถิ่น
8. ระบบจตุสดมภ์ ว่าด้วย วังหากเปรียบเทียบกับระบบราชการในปัจจุบัน คล้ายคลึงกับกระทรวงใด มากที่สุด
ก. กระทรวงยุติธรรม
ข. กระทรวงมหาดไทย
ค. กระทรวงกลาโหม
ง. กระทรวงวัฒนธรรม

9. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ออกเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น สอดคล้องกับหลักข้อใด
ก. การแบ่งอำนาจ
ข. การโอนอำนาจ
ค. การมอบอำนาจ
ง. การกระจายอำนาจ

10. ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยของสหราชอาณาจักร มีลักษณะเด่นตามข้อใดมากที่สุด
ก. มีรัฐสภาที่มีบทบาททางการเมืองและอำนาจมากที่สุด
ข. มีระบบสองสภาและมีพรรคการเมืองสองพรรค ที่คานอำนาจซึ่งกันและกัน
ค. มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ง. มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ใช้ CIVIL LAW เป็นในการกำหนดกฏเกณฑ์และสิทธิต่างๆ ของประชาชน


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น